รายงานพิเศษ: หุ้นรับเชิงลบ-บวก จากมาตรการปิดสถานที่กันโควิด-19

Published on 2020-03-24   By ข่าวหุ้น

 เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา ทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกประกาศคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพิ่มเป็น 26 ประเภท เป็นระยะเวลา 22 วัน (22 มี.ค.-12 เม.ย.) ได้แก่ห้างสรรพสินค้า ให้เปิดแค่โซน super market ร้านขายยา ธนาคาร ร้านขายอาหารและร้านสะดวกซื้อเฉพาะให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้นห้ามนั่งรับประทานที่ร้าน สำหรับร้านอาหารในโรงแรมให้บริการเฉพาะลูกค้าที่เข้าพัก
          พร้อมกับยังให้ปิดตลาดสดเหลือเฉพาะบางส่วนและตลาดนัดเหลือแค่ร้านขายของเพื่ออุปโภคบริโภค ของสด ของแห้ง รวมถึงปิดร้านเสริมสวย คลินิกเสริมความงาม และปิดศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม และสถานที่จัดนิทรรศการ
          นอกจากนั้น 5 จังหวัดปริมณฑล คือ สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นครปฐม, นนทบุรี และปทุมธานี มีการออกประกาศให้ใช้มาตรการปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร
          จากกรณีออกมาตรการสั่งปิดสถานที่ต่าง ๆ เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลา 22 วัน  ผลพวงนี้ส่งผลลบต่อตลาดหุ้นเช่นกัน เนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นว่า การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง และหากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ดีขึ้นมีโอกาสมากที่จะเห็นการใช้มาตรการนี้กับจังหวัดอื่นเพิ่มเติม หรือหากสถานการณ์เลวร้ายลงมีโอกาสที่จะเห็นการใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการบังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
          สำหรับมาตรการปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวที่กรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดเป็นระยะเวลา 22 วันนี้ จะส่งผลกระทบเป็นลบเป็นส่วนใหญ่กับหลายธุรกิจ เนื่องจากรายได้ที่ลดลง อย่างไรก็ตามมีบางธุรกิจที่จะได้รับผลบวกจากมาตรการนี้เช่นกัน
          ทั้งนี้ไปสำรวจข้อมูลจาก บล.เคทีบี (ประเทศไทย) ว่ามีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ใดที่คาดว่าจะรับผลกระทบเป็นลบในเชิงธุรกิจ และจะได้รับผลบวกในเชิงธุรกิจ
          ดังตัวอย่าง ธุรกิจและบริษัทที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ คือ
          1) ศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้า ได้แก่  บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF , บริษัท เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PLAT, บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC, บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN, บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) หรือ MBK, บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC
          2) ร้านขายวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน ได้แก่ บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) หรือ DOHOME, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO, บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL
          3) ศูนย์แสดงสินค้าและศูนย์ประชุม ได้แก่ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อิมแพ็คโกรท หรือ IMPACT           4) ร้านอาหารในห้าง ได้แก่ บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU, บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN, บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M, บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI, บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) หรือ SNP, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL  และบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT
          5) ร้านค้าในห้าง ได้แก่ บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7, บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART, บริษัท ไอที ซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ IT, บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MC, บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ BEAUTY และบริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TKN
          6) โรงภาพยนตร์ ได้แก่ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR
          7) ระบบขนส่งมวลชนศาธารณะ ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS
          8) ปั๊มน้ำมัน ได้แก่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT, บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  หรือ  ESSO, บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP
          จากหุ้นที่จะได้รับผลกระทบเชิงลบมีการประเมินว่าจะมีผลต่อสัดส่วนกำไรสุทธิมากสุด  คือ SF, PLAT, CRC, DOHOME, AU, ZEN, M, MAJOR, JMART, COM7, BEAUTY
          ธุรกิจและบริษัทที่ได้รับผลกระทบเชิงลบปิดสถานที่ชั่วคราว
          ธุรกิจหลักทรัพย์ศูนย์การค้า & ห้างสรรพสินค้า SF, PLAT, CRC, CPN, MBK, AWCร้านขายวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน DOHOME, HMPRO, GLOBALศูนย์แสดงสินค้า+ศูนย์ประชุม IMPACTร้านอาหารในห้าง AU, ZEN, M, OISHI, SNP, CENTEL, MINTร้านค้าในห้าง COM7, JMART, IT, MC, BEAUTY, TKNโรงภาพยนตร์ MAJORระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ BEM, BTSปั๊มน้ำมันPTG, PTT, ESSO, BCPที่มา:บล.เคทีบี (ประเทศไทย)
          ส่วนธุรกิจและบริษัทที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก คือ
          1) ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC, บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL
          2) ผู้ผลิตอาหาร ได้แก่  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU, บริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASIAN, บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA
          3) ICT ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE,  บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC
          4) ประกัน ได้แก่ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM
          ธุรกิจและบริษัทที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกปิดสถานที่ชั่วคราว
          ธุรกิจหลักทรัพย์ซูเปอร์มาร์เก็ต+ร้านสะดวกซื้อ BJC, MAKRO, CPALLผู้ผลิตอาหาร CPF, TU, ASIAN, TFMAMAICTADVANC, TRUE, JAS, DTACประกันTQMที่มา : บล.เคทีบี (ประเทศไทย)
          หุ้นข้างต้นเป็นการประเมินจากสถานการณ์ว่าด้วยการสั่งปิดสถานที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะทำให้มีทั้งบริษัทรับผลกระทบเชิงลบ และกระทบเชิงบวกควบคู่กันไป !!!